อาชีพกับการยื่นกู้สินเชื่อบ้านสำคัญฉะไหน วันนี้ซีคอนจะมาเล่าให้ฟังครับ… 📣
ใครที่กำลังจะสร้างบ้าน หรือตัดสินใจซื้อบ้านสักหลัง ล้วนจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ทั้งนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องยื่นกู้ขอสินเชื่อบ้านจากธนาคาร และธนาคารจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติหลายประการว่ามีความสามารถในการผ่อนชำระหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่มาของรายได้ รายจ่าย ภาระหนี้สิน และโอกาสในการสร้างหนี้สินในอนาคต เพื่อใช้ตรวจสอบ และเพิ่มความมั่นใจให้กับธนาคารว่าผู้ขอกู้มีวินัยทางการเงิน…
แต่คุณสมบัติที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ธนาคารต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วยนั่นก็คือ “อาชีพของผู้กู้” เพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความมั่นคง ความสม่ำเสมอของแหล่งรายได้ วันนี้ซีคอนได้รวบรวมข้อมูลให้กับ 4 กลุ่มอาชีพ กับโอกาสในการยื่นกู้สินเชื่อบ้าน มาให้อ่านกัน คลิกที่รูปเพื่ออ่านได้เลยครับ
💸________________________________________________💸
#สร้างบ้านกับSEACON 🏡เรามีพันธมิตรที่ให้สินเชื่อบ้าน วงเงินสูง และดอกเบี้ยต่ำ กับหลากหลายธนาคารที่มีให้เฉพาะลูกค้า SEACON เท่านั้น‼
เมื่อสร้างบ้านกับ SEACON ลูกค้าไม่ต้องกังวลเรื่องสินเชื่อบ้าน และงบประมาณที่บานปลาย เพราะ SEACON มีบริการ One Stop Service ที่ให้บริการลูกค้าตั้งแต่เริ่มจองสร้างบ้าน จนกระทั่งเข้าอยู่ พร้อมทั้งมีพนักงานมืออาชีพที่คอยให้คำปรึกษาทุกกระบวนการสร้างบ้าน
คิดสร้างบ้าน มาสร้างกับ SEACON เพราะบ้านของเรา #อยู่นานทนถึงทายาท 💙
กลุ่มอาชีพพิเศษ และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ 👨⚕
สิทธิพิเศษสำหรับอาชีพเหล่านี้ที่มีความมั่นคงสูง และรายได้ค่อนข้างดีจนถึงดีมาก ธนาคารหลายแห่งมีแพ็คเกจสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ย (ถูก) พิเศษเพื่อจูงใจกลุ่มคนอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ “วงการแพทย์” ให้มาใช้บริการกับธนาคาร ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล โดยบางแห่งจะรวมถึงกลุ่มอาชีพนักกายภาพบำบัด และนักเทคนิคการแพทย์ไว้ด้วย โดยธนาคารที่เปิดสินเชื่อบ้านสำหรับอาชีพพิเศษ เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารไทยพาณิชย์
นอกจากนี้ ยังมีอาชีพพิเศษในบางธนาคาร ได้แก่ “นักบินพาณิชย์” มีระบุในแพ็คเกจพิเศษของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ ธนาคารกรุงเทพ ส่วนกลุ่มวิชาชีพผู้พิพากษา และอัยการ สามารถใช้สิทธิพิเศษที่ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารไทยพาณิชย์ รวมถึง “อาจารย์มหาวิทยาลัย” ในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป ก็มีสิทธิพิเศษกับธนาคารไทยพาณิชย์เช่นกันครับ
พนักงานบริษัทเอกชนที่มีรายได้ประจำ 💼
กลุ่มพนักงานเอกชนมีรายได้ประจำเป็นอีกกลุ่มที่ธนาคารมองว่ามี #ความเสี่ยงต่ำ ในการปล่อยกู้สินเชื่อบ้าน เพราะแม้มีโอกาสบ้างที่พนักงานเอกชนจะถูกลดเงินเดือน ถูกให้ออก หรือบริษัทปิดตัวลง แต่พนักงานมักจะไม่มีหนี้สินจากการทำธุรกิจ ทำให้ความเสี่ยงต่ำ และโอกาสได้รับอนุมัติเงินกู้มีสูงเช่นกัน
ในบางองค์กรมีสวัสดิการจากธนาคาร ซึ่งจะทำให้พนักงานได้รับดอกเบี้ยที่ดีกว่าลูกค้าทั่วไป เช่น ธอส. สินเชื่อบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ปี 2566
– ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย = 2.65% ต่อปี
– ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย = 3.50% ต่อปี
– ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย = MRR -3.15% ต่อปี
– ปีที่ 4 เป็นต้นไป ลูกค้าสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ย MRR -1.00% และลูกค้าทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR -0.50%
ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ 🧑🏫
เป็นกลุ่มที่ธนาคารต้องการ เนื่องจากหน่วยงานราชการเป็นต้นสังกัดที่มีความมั่นคงสูง และโอกาสที่จะถูกปลดจากการเป็นข้าราชการมีค่อนข้างน้อย ซึ่งจะทำให้การผ่อนชำระมั่นคงเช่นกัน โอกาสกู้ผ่านจึงมีสูง
นอกจากนี้กลุ่มข้าราชการมักจะได้รับแพ็คเกจสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยพิเศษที่ถูกกว่าอาชีพอื่นจากธนาคารของรัฐ เช่น โครงการบ้าน ธอส. – กบข. เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการ ครั้งที่ 15
– ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย = 0% ต่อปี
– ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย = MRR -2.75% ต่อปี
– ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย = MRR -1.75% ต่อปี
– ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย = MRR -1.25% ต่อปี
อาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์👨🎨
สำหรับกลุ่มอาชีพเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นค้าขายขนาดเล็ก ไปจนถึงอาชีพรับจ้าง ฟรีแลนซ์ ล้วนเป็น #กลุ่มเสี่ยงที่สุด เพราะแหล่งรายได้มีความเสี่ยงที่จะถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจได้ง่าย แม้ว่ากลุ่มอาชีพอื่น เช่น SME อาจจะมีรายได้ต่อเดือนสูงกว่ามนุษย์เงินเดือนทั่วไป ทางธนาคารก็จะประเมินว่าเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคงเช่นกัน
อีกหนึ่งปัญหาที่ธนาคารอาจประเมินไม่ให้ผ่าน เนื่องจากกอาชีพอิสระมักมีหลักฐานทางการเงินน้อย บางครั้งการรับเงินเป็นเงินสด และไม่ได้นำฝากบัญชีธนาคารอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายที่ชัดเจน ซึ่งทำให้การตรวจสอบมีความความยากลำบากจากทางธนาคาร
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงแต่ใช่ว่าธนาคารจะปฏิเสธรับคำขอสินเชื่อบ้านแต่ต้น ผู้กู้จึงต้องเตรียมตัวให้ดีก่อนยื่นขอสินเชื่อ โดยทั่วไปแล้วธนาคารจะให้ยื่นหลักฐานที่รับรองรายได้ เช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ 50 ทวิ หลักฐานการเสียภาษีประจำปี รวมไปถึงหลักฐานการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือนว่ามีการนำเงินเข้าบัญชีเป็นประจำ
ดังนั้น สิ่งที่ซีคอนอยากแนะนำให้คือควรเตรียมหลักฐานทางการเงินไว้แน่น เพื่อให้ธนาคารประกอบการพิจารณายื่นกู้ครับ
ที่มา: Krungsri, ghbank, ddproperty และ Lumpsum