จะออกแบบบ้านอย่างไร เพื่อรองรับการใช้งานรถไฟฟ้าในอนาคต?
ถ้าไม่คิดจะซื้อรถไฟฟ้ายังจำเป็นต้องออกแบบบ้านเผื่อไว้หรือไม่?
🚙คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสของรถไฟฟ้ากำลังมาแรง ล่าสุดภาครัฐเตรียมเคาะหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนผู้ที่จะซื้อรถไฟฟ้า ถ้าผ่านการเห็นชอบสามารถเริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นมาตรการลดภาษีนำเข้าและสนับสนุนเงินช่วยเหลือขจัดความซับซ้อน เพื่อลดราคาตั้งแต่ต้นทางเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกมากที่สุด โดยตั้งเป้ายอดจำหน่ายรถยนต์ BEV ไว้ 300,000 คัน ภายใน 5 ปี โดยเฉพาะการปรับลดอัตราภาษีนำเข้า ให้เหลือ 0% ในกลุ่มรถนำเข้าจาก ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ส่วนรถที่นำเข้าจากยุโรปลดภาษีเหลือ 40% จาก 80% และลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ในกลุ่มรถไฟฟ้าราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาท ภาครัฐจะสนับเงินสูงสุดถึง 150,000 บาท โดยพิจารณาจากความจุของแบตเตอรี่ ถ้าต่ำกว่า 30 kWh จะได้รับส่วนลด 70,000 บาท ถ้าสูงกว่านั้นจะได้รับเงินสนับสนุนถึง150,000 บาท
🚗น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้หลาย ๆ ท่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้น สอดรับกับช่วงต้นปีหน้าจะมีรถไฟฟ้าอีกหลายรุ่นทยอยเปิดตัวตามกันมา สิ่งสำคัญคือรุ่นราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาทจะเข้ามาบนโชว์รูมเยอะมากขึ้น แล้วคราวนี้ถ้าเราจะสร้างบ้านใหม่ควรที่จะเผื่อช่องจอดสำหรับรถเสียบปลั๊กหรือยัง? ปัญหาน่าปวดหัวของคนที่กำลังจะซื้อรถ BEV หรือ PHEV นอกจากเลือกตัวรถ หาข้อมูลเปรียบเทียบกว่าจะตัดสินใจได้ ต้องมาเจอปัญหาที่เลี่ยงไม่ได้คือ “การปรับปรุงบ้าน” เพื่อรองรับการติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จ ต้องมาคำนวณการขอมิเตอร์ไฟใหม่ ต้องมาคำนวนขนาดสายไฟใหม่ ต้องมาหาที่ตั้งโฮมชาร์จ ลามไปถึงอาจจะต้องปรับปรุงโรงรถครั้งใหญ่ แล้วมันจะดีกว่าไม๊ถ้าจะสร้างโรงรถให้พร้อมรองรับรถพลังงานไฟฟ้าในคราวเดียวกัน อะไรที่ต้องคำนึงถึงการสร้างโรงรถเพื่อรองรับการใช้งานที่มาถึงเร็วกว่าที่คิด
1. ติดตั้งระบบ Sola Rooftop ที่มีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งานโดยคำนวณจากโหลดไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงรถไฟฟ้าที่คิดจะซื้อ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการชาร์จไฟหรือใช้งานในบ้าน เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว เมื่อรวมค่าไฟฟ้าที่ลดลง 30 – 50% และค่าเชื้อเพลิงรถยนต์ที่ลดลง 50 – 70% แล้วจุดคุ้มทุนจะเร็วมาก
2. ออกแบบโรงรถให้มีการระบายอากาศที่ดี และสามารถกันฝนได้ดีโดยเฉพาะจุดที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จ
3. ขอมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ปัจจุบันการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสนับสนุนการใช้งานรถพลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างมาก
4. ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และควรวางแผนจุดเชื่อมต่อในอนาคตถ้าต้องมีการเพิ่มเติม จะได้ไม่ต้องมีการรื้อ ทุบ ต่อเติม เผื่อกรณีจะมีรถพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นภายในบ้าน การออกแบบเผื่อต่อเติมตั้งแต่เริ่มต้น ลงทุนน้อยกว่าการต่อเติมภายหลัง และตัดปัญหาน่าปวดหัวที่จะตามมาในระยะยาว
5. สามารถวางรูปแบบบ้านให้เป็น Smart Home ที่สามารถควบคุมสั่งการผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ เพราะรถยนต์และอุปกรณ์ชาร์จรุ่นใหม่สามารถรองรับการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนแล้ว การปรับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถรองรับการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นได้ด้วย จะทำให้เกิดความสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น
ท่านที่กำลังจะสร้างบ้านและสนใจรถไฟฟ้า เข้ามาพูดคุยปรึกษากับซีคอนเพื่อวางแผนเผื่ออนาคตกันได้เลยนะครับ
⭐️สร้างได้อย่างที่ฝัน สร้างบ้านกับซีคอน⭐️
ต้องการคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้านติดต่อเราได้ที่
– SEACON Channels –
FACEBOOK MESSENGER : http://m.me/Seacon.Co.Ltd
Line : @seacon หรือคลิก http://line.me/R/ti/p/%40seacon
http://www.seacon.co.th/
Tel : 1391
#seacon #seaconรับสร้างบ้าน #บริษัทรับสร้างบ้าน #สร้างได้อย่างที่ฝันสร้างบ้านกับซีคอน