อากาศก็เริ่มร้อนมากขึ้นทุกปีๆ หน้าหนาวก็เหมือนจะไม่มีเสียอีก สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับบ้านนั่นก็คือ “ฉนวนกันความร้อน” แต่ฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกมากมายหลายประเภทในท้องตลาด แล้วแบบไหนถึงจะเหมาะกับบ้านเรา
วันนี้ SEACONHOME มีความรู้มาฝากกันครับ
วิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน
ฝ้าเพดานและโครงคร่าวอยู่ในสภาพดี
หากบ้านของท่านมีฝ้าเพดานและโครงคร่าว ฝ้าอยู่ในสภาพดี และสามารถรับน้ำหนักฉนวนที่เพิ่มขึ้นได้ ก็สามารถปูฉนวนกันความร้อนชนิดปูบนฝ้าได้เลย
ซึ่งมีให้เลือกหลายประเภท โดยฉนวนใยแก้วซึ่งเป็นฉนวนที่มีความหนา จึงมีค่าการกันความร้อนได้ดี แต่หากโครงคร่าวเดิมไม่สามารถรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ จำเป้นที่ต้องเสริมหรือรื้อเปลี่ยนโครงคร่าวใหม่เพื่อความแข็งแรง
ไม่มีฝ้าเพดาน
หากบ้านของท่านไม่มีฝ้าเพดาน สามารถเลือกใช้ฉนวนโพลียูรีเทนโฟม (PU) พ่นใต้หลังคาได้เลย ซึ่งสามารถเลือกความหนาของโฟมที่จะพ่นได้ตามที่ต้องการ ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งที่ค่อนข้างยุ่งยาก โดยเมื่อติดตั้งแล้วโฟมจะเกาะติดกับพื้นผิวของหลังคาเลยทำให้รื้อถอนได้ยาก
ส่วนอีกทางเลือกสำหรับกรณีนี้คือ ปิดฝ้าเพื่อปูฉนวนกันความร้อน แบบปูบนฝ้า สามารถทำได้ทั้งรูปแบบฝ้าเพดานปกติ หรือตีฝ้าลาดเอียงไปตามหลังคา
ฉนวนประเภทแบบไหนถึงจะเหมาะกับบ้านเรา
ฉนวนกันร้อนที่มีให้เลือกหลายชนิด ซึ่งฉนวนกันร้อนจะมี 2 หน้าที่ด้วยกันคือดูดซับความร้อน และสะท้อนความความร้อน
ซึ่งสามารถจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ แบบแผ่น และแบบพ่น ดังต่อไปนี้
ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น
ติดตั้งได้ง่ายอย่างปูบนฝ้าเพดาน ลักษณะของฉนวนกันร้อนประเภทนี้จะจำหน่ายเป็นม้วน มีความหนาและค่ากันความร้อนแตกต่างกัน ขนาดความยาวต่อม้วนและราคาจะแตกต่างกันตามวัสดุด้วย
1 ฉนวนใยแก้ว (Fiber Glass)
ลักษณะของฉนวนใยแก้วจะเป็นแผ่นหนาหุ้มด้วยแผ่นฟอยล์ ซึ่งภายในประกอบไปด้วยใยแก้วเส้นเล็กที่ประสานตัวเกิดเป็นช่องโพรงอากาศซึ่งทำหน้าที่เก็บความร้อนไว้ภายในนั่นเอง
ทั้งยังช่วยดูดซับเสียง ไม่ลุกติดไฟ ติดตั้งง่าย มีทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น
2 อลูมิเนียม ฟอยล์ (Aluminium Foil)
แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์เป็นวัสดุที่ช่วยสะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้าน ซึ่งถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี
มีลักษณะเหนียวคงทน ไม่ขาดง่าย
3 โพลียูรีเทน โฟม (Polyurethane Foam) หรือโฟม PU
เป็นเทคโนโลยีการฉีดโฟมเพื่อป้องกันความร้อน โดยโฟมชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ในทำโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
มีคุณสมบัติป้องกันน้ำและความชื้น กันเสียงได้ดี แต่ก็เสื่อมสภาพได้ง่ายหากสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงเกินไป PU มีทั้งแบบแผ่นและแบบพ่น สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
4 โพลีเอธิลีน โฟม (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE
ลักษณะของโฟม PE เป็นแผ่นเหนียวนุ่มมีความหนา หุ้มด้วยแผ่นฟอยล์บางๆ เคลือบผิวอีกชั้น ต้านทานความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบา เหนียว และทนต่อแรงกระแทกได้ดี
5 โพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam) หรือโฟม PS หรือ EPS หรือ โฟมขาว
สามารถกันได้ทั้งความร้อนและความเย็น ในท้องตลาดมีจำหน่ายในแบบแยกแผ่นและเป็นฉนวนโฟมที่ติดคู่กับแผ่นยิปซัม เป็นวัสดุน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย จึงทำให้การติดตั้งสะดวกและรวดเร็ว
ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น
เป็นฉนวนที่ใช้พ่นบนวัสดุอีกชิดเพื่อทำหน้าที่กันความร้อน ซึ่งฉนวนกันความร้อนแบบพ่นจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น แต่จะซ่อมบำรุงยากกว่า สามารถแบ่งชนิดได้ดังนี้
1 เซรามิคสะท้อนความร้อน (Ceramic Coating)
เป็นแผ่นฟิล์มที่ได้จากอนุภาคเซรามิคมาผสมกับอะคริลิกและส่วนผสมอื่นๆ สำหรับพ่นรอบๆ อาคาร ทั้งภายในและภายนอก ส่วนใหญ่จะนิยมเคลือบหลังคาและดาดฟ้า นอกจากจะกันร้อนได้แล้ว Ceramic Coating ยังกันน้ำซึมได้อีกด้วย
2 เยื่อกระดาษ (Cellulose)
ฉนวนกันร้อนเยื่อกระดาษก็มีคุณสมบัติควบคุมอุณหภูมิด้วยเส้นใยที่ผสมกันเป็นปุยนุ่น น้ำหนักเบา ป้องกันเสียงเข้าออก ไม่ลามไฟ และยังมีคุณสมบัติเฉพาะคือไม่เป็นแหล่งอาหารของหนู แมลงสาบ ปลวก ฉีดได้ในหลายพื้นผิวทั้ง เหล็ก ไม้ เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณใต้หลังคา โพรงหลังคา และฝ้าเพดาน
ต้องการคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้านติดต่อเราได้ที่
– SEACONhome Channels –
FB Messenger httpm.meSeaconHome.Ltd
Line @seaconhome หรือคลิก httpline.meRtip%40seaconhome
httpwww.seacon.co.th
Tel 02-237-2900
#ฉนวนกันความร้อน #YoudreamWebuild #สร้างได้อย่างที่ฝันสร้างบ้านกับซีคอนโฮม #รับประกันโครงสร้าง #Seaconhomeรับสร้างบ้าน #รับสร้างบ้าน #สร้างบ้าน #ซีคอนโฮมรับสร้างบ้าน